ยกเครื่องความคิด (REWORK)

ยกเครื่องความคิด_Rework

หนังสือ “ยกเครื่องความคิด  REWORK”

รายละเอียด

ผู้เขียน :  Jason Fried & David Heinemeier Hansson

ผู้แปล : อาสยา ฐกัดกุล

สำนักพิมพิ์ : WeLEARN

ราคา : 180 บาท

เล่าเรื่องเนื้อหา

เนื้อหาในเล่มจะมีเป็นหมวดหมู่อยู่ 10 ตอน ประกอบไปด้วย

1. ชำแหล่ะธุรกิจ

2. ออกตัว

3. เดินหน้า

4. สร้างงาน

5. คู่แข่ง

6. เจริญเติบโต

7. ประชาสัมพันธ์

8. ว่าจ้าง

9. ควบคุมความเสียหาย

10. วัฒนธรรม

เวลาไม่ใช่ข้ออ้าง

iYom reviews

“รื้อทุกวิธีคิด ในการทำงาน เปลี่ยนวิธีทำธุรกิจของคุณไปตลอดกาล” ตรงปกหนังสือก็บ่งบอกอยู่แล้วว่าต้องเป็นแนวคิดบริหารแหวกแนวกว่าที่เคยอ่านมา เข้าใจว่าน่าจะแป็นแนวความคิดที่เกิดจากประสบการณ์การทำงานของ คุณ Jason และ คุณ David ที่มีธุรกิจเป็นของตัวเอง แล้วนำมาเล่าสู่กันฟัง  บางเรื่องก็น่าสนใจ และส่วนบางเรื่องเราก็รู้ไว้ได้ครับ แต่อย่าเอามายึดหรือคาดหวังว่า บริษัทหรือองค์กรที่เราทำงานอยู่ มันจะต้องเป็นแบบนี้ เพราะไม่งั้นตัวเราก็จะมัวแต่ไปยึดว่าแบบนั้นถูกแบบนั้นผิด ไม่เป็นอันทำงานทำการ เอาเป็นว่า อ่านแล้วรู้แล้วปรับใช้ในการทำงานหรือการดำเนินชีวิตไว้บ้างน่าจะดีกว่า   โดยส่วนตัวชอบอยู่บางแนวคิด ขอเอามาจดไว้สักหน่อย

– โลกแห่งความจริงไม่ใช่สถานที่ มันเป็นข้อแก้ตัวต่างหาก คนเรามักใช้มันเป็นข้ออ้างเพื่อจะได้ไม่ต้องลงมือพยายาม โลกที่ว่านี้ไม่ได้เกี่ยวข้องอะไรกับคุณเลย

– การวิวัฒนการไม่ได้มีพื้นฐานมาจากความล้มเหลวในอดีต แต่พัฒนาขึ้นจากสิ่งที่ได้ผลดีอยู่แล้วต่างหาก

– การทำให้ความฝันเป็นจริง คือ ความรับผิดชอบของคุณเองล้วนๆ อย่าบอกว่าไม่มีเวลา หรือยังไม่ถึงเวลา เพราะจังหวะเวลาที่เหมาะสมมันเป็นสิ่งที่ไม่มีวันมาถึงอีกด้วย

คำอันตราย

– ธุรกิจที่ยังไม่มีเส้นทางทำกำไรไม่ใช่ธุรกิจ มันเป็นแค่งานอดิเรก

– การทำธุรกิจ = ความเชื่อ + ความสนุก + เงิน

– ก่อนที่จะบ่นว่า “ไม่พอ” ลองพยายามคิดดูก่อนว่าคุณทำอะไรได้มากแค่ไหนจากสิ่งที่คุณมีอยู่

– เมื่อคุณเริ่มต้นสิ่งใหม่ คุณจะมีทั้งสิ่งที่คุณ “ทำได้”  “อยากทำ”  “ต้องทำ”  ซึ่งเราต้องเริ่มสิ่งที่เราต้องทำก่อน คือ การเริ่มต้นที่จุดศูนย์กลาง

– การตัดสินใจ คือ การเดินไปข้างหน้า

– แก่นของธุรกิจควรจะผูกอยู่กับสิ่งที่จะไม่เปลี่ยนแปลง อะไรก็ตามที่ผู้คนต้องการในวันนี้ และยังต้องการในอีกสิบปีข้างหน้า นั่นแหล่ะคือ สิ่งที่คุณควรจะลงทุน

– ถ้าคุณอยากให้เกิดแรงเหวี่ยงและแรงจูงใจอยู่เสมอลองหาชัยชนะย่อยๆ ไปตลอดการเดินทาง เพราะถ้างานที่คุณทำอยู่ไม่มีแรงเหวี่ยงไปข้างหน้า ไม่คงไม่ใช่เรื่องดีนัก

– คนเรามักตื่นเต้นเมื่อเห็นความขัดแย้ง พวกเขาจะเลือกข้าง ทำให้เกิดอารมณ์ร่วมไปกับสินค้า และนั่นคือวิธีที่จะทำให้ลูกค้าสังเกตุเห็นคุณได้ในทันที

โด่งดังชั่วข้ามคืน

– เมื่อคุณสอน คุณจะทำให้ลูกค้ารู้สึกผูกพันกับคุณอย่างที่กลยุทธ์การตลาดเก่าๆ ไม่สามารถทำได้

– ถ้าตุณต้องการให้ใครสักคนหันมาสนใจ การดึงความสนใจของเขา โดยทำในสิ่่งที่ เหมือนกับคนอื่นๆ คงไม่ใช่วิธีที่ฉลาดนัก

– วัฒนธรรมคือผลพลอยได้ ของพฤติกรรมที่ทำมานาน

– เมื่อคุณต้องเขียน อย่าคิดถึงคนทุกคนที่จะต้องอ่านข้อความของคุณ คิดถึงใครคนใดคนหนึ่งแล้วลงมือเขียนเพื่อคนคนนั้น การเขียนถึงคนกลุ่มใหญ่จะทำให้คำที่คุณเลือกใช้ฟังดูเย็นชาไร้ความรู้สึกและไม่เป็นธรรมชาติ

มีอีกบทหนึงที่น่าสนใจ เพราะส่วนตัว สมัยก่อนมักจะชอบนอนดึกๆ เพราะมันเงียบดี เหมือนมีโลกส่วนตัว โดยใช้เวลาไปกับการอ่านหนังสือซะส่วนใหญ่ ดูขยันเน๊อะ แต่ผลของมันก็คือ เวลาตื่นเช้ามา ไปทำงาน ง่วงฮิบ หงุดหงิด หงุ่นหง่าน ตลอดวัน คิดอะไรก็ไม่ออก เฟร็งเป็ด พาลไม่มีสมาธิ เข้า facebook เข้า webboard หาประเด็นดราม่าอยู่ล่ำไป พอมาได้อ่านบท “ไปนอนซะ” ก็มาเข้าใจแจ่มชัดเลย ที่แท้มันเกิดจากการนอนไม่พอนิ่เอง เพราะเมื่อเรานอนไม่พอจะเกิดอาการเหล่านี้ (หลายคนอาจจะรู้อยู่แล้ว ก็ได้นะ ส่วนตัวเพิ่งมาตาสว่าง)

– ดันทุรัง : เมื่อคุณเหนื่อยล้ามากๆ คุณมักจะทำสิ่งต่างๆ ด้วยวิธีเดิมๆ ถึงแม้มันจะไม่ใช่วิธีที่ดีก็ตาม

– ขาดความคิดสร้างสรรค์ : ความคิดสร้างสรรค์เป็นสิ่งแรกที่จะขาดหายไปเมื่อคุณอดนอน

– หมดกำลังใจ : เมื่อสมองของคุณทำงานไม่รวดเร็วฉับไว คูณจะหันไปหาอะไรที่ต้องใช้สมองน้อยกว่า เช่น เปิด facebook อ่านเรื่องชาวบ้านนั่นเอง

– ขี้หงุดหงิด : ความอดทน จะลดลงฮวบ เมื่อคุณอ่อนล้า

แรงบันดาลใจ

ข้ออีกข้อ “แรงบันดาลใจเป็นสิ่งมหัศจรรย์  เป็นสิ่งที่ทำให้คุณสร้างผลงานได้รวดเร็วขึ้นมาก และเป็นแรงกระตุ้นชั้นเยี่ยม แต่มันจะไม่รอคุณอยู่นานนัก รีบคว้ามันเอาไว้ จับให้แน่น แล้วนำมาใช้งานทันที”

ต้องบอกว่า “ยกเครื่องความคิด Rework” เป็นอีกเล่มที่อ่านสนุกครับ และให้แนวคิดที่น่าสนใจ แถมจุดเด่นที่สำคัญ หนังสือเล่มนี้มีภาพประกอบแต่ละบทที่แปลกตาดีครับ ทำให้อ่านแล้วมีรสชาติมากขึ้น แนะนำมีไว้ติดบ้าน ประดับความรู้อีกหนึ่งเล่มครับ